พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ)
๒. ละคำพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากคำพูดส่อเสียด คือไม่เป็นผู้ฟัง จากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น เพื่อทำลายพวกเหล่านี้
หรือไม่เป็นผู้ฟังจาก ทางโน้นแล้วก็มาบอกทางนี้ เพื่อทำลายพวกโน้น ดังนี้ ก็เป็นอันว่า เป็นผู้ เชื่อมคนที่แตกกันแล้วให้สนิทกัน หรือเป็นผู้ส่งเสริมผู้ที่สนิทกันแล้วให้สนิท กันยิ่งขึ้น
พอใจผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีกับผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ชอบผู้ที่พร้อม เพรียงกัน เป็นผู้พูดวาจาที่ทำให้สมัครสมานกัน.
๓. ละคำพูดหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากคำพูดหยาบ เป็นผู้พูดแต่คำที่ไม่ มีโทษ สบายหู น่ารัก ดื่มด่ำในหัวใจ เป็นภาษาชาวกรุง คนส่วนมากรัก ใคร่ คนส่วนมากชอบใจเห็นปานนั้น.
๔. ละคำสำรากเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากคำสำรากเพ้อเจ้อ พูดเป็น เวลา พูดคำที่เป็นจริง พูดคำมีประโยชน์ พูดเป็นธรรมพูดเป็นวินัย เป็นผู้พูด คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิงตามเวลา มีที่สิ้นสุดประกอบด้วยประโยชน์.
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒ (ต่อ)
หน้าที่ ๒๕๑ ข้อที่ ๔๘๕
http://etipitaka.com/read/thaimm/19/251
6.8.18
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment