๑๑. เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ [๑๙๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระรูปหนึ่งชื่อ อุชฌานสัญญี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส" เป็นต้น.
คุณวิเศษให้เกิดแก่ผู้เพ่งโทษผู้อื่น
ได้ยินว่า พระเถระนั้นเที่ยวแส่หาแต่โทษของภิกษุทั้งหลายเท่านั้นว่า " ภิกษุนี้ ย่อมนุ่งอย่างนี้, ภิกษุนี้ ย่อมห่มอย่างนี้."
พวกภิกษุ กราบทูลแด่พระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระชื่อโน้น ย่อมกระทำอย่างนี้."
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในข้อวัตรกล่าว สอนอยู่อย่างนี้ ใคร ๆ ไม่ควรติเตียน, ส่วนภิกษุใด แสวงหาโทษของชนเหล่าอื่น เพราะความมุ่งหมายในอันยกโทษ กล่าวอย่างนี้แล้วเที่ยวไปอยู่,
บรรดาคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น คุณวิเศษแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. อาสวะทั้งหลายเท่านั้น ย่อมเจริญอย่างเดียว" ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
๑๑. ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.
"อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอย
ดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษ
เป็นนิตย์, บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ."
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) เล่มที่ ๔๓
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒
หน้าที่ ๖๐ ข้อที่ ๒๘
http://etipitaka.com/read/thaimm/43/60/
24.2.18
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment