พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) ..เมื่อยังมีการเวียนว่ายอยู่ในสงสาร ชื่อว่า อโหสิกรรม ก็จะไม่มี..
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) เล่มที่ ๖๙
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๒
หน้าที่ ๔๒๑
http://etipitaka.com/read/thaimm/69/421
หลวงตาศิริ อินฺทสิริ ..อโหสิกรรม เป็นได้เฉพาะพระอรหันต์ ..ถ้าขันธ์ 5 มีเจ้าของมีเราอยู่ เราก็ไปรับผลของกรรมต่อไปอีก ขันธ์ 5 ไม่มีเจ้าของ พระอรหันต์//
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ..แต่ท่องเที่ยวมาในวัฏสงสารนี่ แต่สิให้ผลหมดแล้ว หรือบ่หมดก็ตาม ขั่นในทางดี มันก็นำต่อไปจนถึงชาติพระนิพพาน ขั่นในทางชั่ว มันก็นำต่อไปถึงชาติเข้าสู่พระนิพพานเหมือนกัน
อุปมาคือพระองค์เจ้า ไปวางยาเขาผิด บ่ได้เจตนา ผลของกรรมอันนั่น นำขันธวิบากของพระองค์เจ้า ไปยังชาติเข้าสู่พระนิพพาน ในทางที่มันพลาด
แต่ว่าอาศัยกิเลสขององค์ท่านบ่มี มันก็เลยกินแมงวันบ่เบื่อ เป็นอโหสิกรรมไป..
บางส่วนจาก พระธรรมเทศนา หลวงปู่หล้า เขมปัตโต - ใจไม่ถึงโลกุตรธรรมก็ขาดที่พึ่ง 13 เม.ย. 2525
https://youtu.be/hHezihYseeU?t=9m2s (9:02 - 9:50)
หลวงตาศิริ อินฺทสิริ ..มีกรรมอันนึง กฏัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าซื้อๆ บ่คึดว่าสิทำเป็นบุญเป็นบาป ทำไปซื่อๆเฮ็ดไปซื้อๆ ฉะนั้นมันมีกรรมที่ว่ามานี้ กรรมจะติดตามเราไปจำแนกแจกสัตว์ ให้ไปอยู่ในภพในภูมิต่างๆกัน นอกจากพระอรหันต์
พระอรหันต์หนิ อโหสิกรรมเด้ ฮู้จักบ่ อโหสิกรรม กรรมก็สักแต่ว่า พระอรหันต์ จิตของท่านอยู่นอกธาตุเหนือขันธ์ การไปทำกรรมพวกนี้ ก็เป็นเพียงกิริยาอาการของธาตุของขันธ์ ท่านไม่มายึดเอาขันธ์ 5 เป็นเราอีกแล้ว
พระอรหันต์ ขันธ์ 5 มันทำงาน แล้วแต่มันจะทำงานไป เป็นกิริยาอาการของธาตุของขันธ์ ท่านไม่ได้มายึดติด พระอรหันต์ก็กินข้าวคือเก่า คึดคือเก่า อันนั่นคือเก่า ทำบุญทำบาปอยู่อย่างซี่ล่ะ แต่กรรมพวกนี้ เป็นอโหสิกรรม
อโหสิกรรม เป็นได้เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นเด้ จิตท่านอยู่นอกธาตุเหนือขันธ์ เอาขันธ์ 5 ไปทำอะไร ก็ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาปเพราะขันธ์ 5 ไม่มีเจ้าของแล้ว
ถ้าขันธ์ 5 มีเจ้าของมีเราอยู่ เราก็ไปรับผลของกรรมต่อไปอีก ขันธ์ 5 ไม่มีเจ้าของ พระอรหันต์ ตาเห็นรูปก็บ่แม่นเราเห็น หูได้ยินเสียงบ่แม่นเรา ขันธ์ 5 เกิดดับ บ่แม่นเราเกิดเราดับ บ่มีเรา มีสัตว์บุคคลตัวตนอยู่ในหนี่
พระอรหันต์จึงเป็นอโหสิกรรม บ่แม่นขออโหสิกรรมเด้อ ขออโหสิกรรมเด้อ อโหสิกรรม เป็นได้เฉพาะพระอรหันต์..
บางส่วนจากพระธรรมเทศนา หลวงตาศิริ อินฺทสิริ - ๖.สุญญตามหาปุริสา (31:22 - 33:26)
https://drive.google.com/drive/u/0/folders/0B6OG_Su4MwGZZzJQZkFDckxyTG8
28.7.18
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment