พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) วินิจฉัย ...โลกแม้จำแนกออกไปมากอย่าง ดังที่พรรณนามานี้ ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือการรวมลงในอุปาทานขันธ์ ๕ เท่านั้น. ,
อรรถกถาโลกสูตร ในโลกสูตรที่ ๑๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ความหมายของโลก บทว่า โลโก ความว่า ชื่อว่าโลก เพราะหมายความว่าย่อยยับไป หักพังไป. โดยเนื้อความได้แก่อริยสัจ ๒ ข้อต้น แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ได้แก่ ทุกขอริยสัจ.
โลกนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ทั้งโดยจำแนกออกไป และโดยสรุปว่า สัตวโลก สังขารโลก และโอกาสโลก. อีกอย่างหนึ่ง โลกมีมากอย่าง ด้วยสามารถแห่งขันธโลกเป็นต้น.
ถามว่า โลกคืออะไร ? คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก
โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งมวล ดำรงอยู่ด้วยอาหาร
โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาหาร ๔
โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
โลก ๖ คือ อายตนะที่เป็นไป ภายใน ๖
โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗
โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ คือ อายนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘
โลกแม้จำแนกออกไปมากอย่าง ดังที่พรรณนามานี้ ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือการรวมลงในอุปาทานขันธ์ ๕ เท่านั้น.
และอุปาทานขันธ์ก็เป็นทุกขอริยสัจ คือแม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ฯลฯ โดยย่นย่อ แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า โดยเนื้อความได้แก่อริยสัจ ๒ อย่างข้างต้น
แต่ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า ได้แก่ ทุกขอริยสัจ
บางส่วนจาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) เล่มที่ ๔๕
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๔
หน้าที่ ๗๒๖ - ๗๒๗
http://etipitaka.com/read/thaimm/45/726/
19.3.18
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment