2.2.18

หนิแหละถ้าเรามาถึงจุดนี้ จิตใจ เราก็สบาย รู้เท่าเอาทันอารมณ์ รู้เท่าเอาทันโลก รู้เท่าเอาทันอารมณ์ รู้เท่าเอาทันขันธ์ 5 ปัญญามันจะสร้าง สติปัญญา เหมือนกับโป๊ะตะเกียง อารมณ์ไหนไหลมาทางไหน พัดมาทางไหน สติปัญญาก็จะครอบเอาจิตไว้ ไฟจึงไม่ดับ ไม่กระเพื่อม ไม่กระพริบ จิตของเราจึงว่าง สว่างไสว ผ่องใสอยู่ตลอดวัน

BY Somchatchai IN No comments



หลวงตาศิริ อินฺทสิริ ..พระพุทธเจ้าข้า ปกติพระพุทธองค์อยู่ที่ไหน แทนที่ท่านจะว่ากุฏิกุต่าง ท่านไม่ว่า ท่านว่ายังงัย สุญญตา สุญญตามหาปุริสา สุญญตาคือความว่างเปล่า ธรรมชาติคือความว่างเปล่าอันนี้ ที่อยู่ของมหาบุรุษ

ถ้าใครฝึกจิตมาอยู่ตรงนี้ได้ก็เรียกว่า จิตของเราเป็นสุญญตา ถ้าอยู่กับสุญญตาได้ ก็สบายตลอดวัน ได้ยินเสียง จิตก็กระเพื่อมออกรับอารมณ์ ก็กลับมาอยู่ที่เก่า ก็มาอยู่ในความว่างคือเก่า ในความว่าง มันก็มีตัวรู้ๆ กับตัวว่างอยู่ ตัวรู้ รู้ รู้หนิ ในความว่าง ก็ยังมีความรู้อยู่

ตัวผู้รู้นี่แหละ คือมหาบุรุษ คือจิต คือตัวเรา เราก็ไปอยู่กับผู้รู้ เราก็ไปอยู่กับความว่าง ทำอะไรอยู่ ตาหูจมูกลิ้นก็มี กายใจก็มีเหมือนกันหมด เมื่อมันกระทบกัน จิตออกกระเพื่อมออกปั๊บ รับอารมณ์ สติก็ทันกันปั๊บ ตัดอารมณ์ออก จิตก็จะล็อคตัวอุเบกขาอยู่ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย

จิตของเราก็ว่าง เป็นสุญญตาอยู่ รู้เฉย อยู่เท่านั้น ถ้าใครทำอันนี้ได้แล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง นี่ล่ะบารมี อุเบกขาบารมี จิตจะล็อคตัวเฉย ไม่ยินดียินร้าย รู้ให้อยู่ ก็เห็นคนนั้นก็รู้เสียงนี้ แต่มันจะมาล็อคตัวอยู่อุเบกขา รู้เฉยเท่านั้น จิตก็อยู่ในสุญญตาคือเก่า รู้เฉย รู้เฉยอยู่

สุญญตา ไปไหนมาไหนก็สบาย ใครจะพูดอะไรคุยอะไรก็คุยไป โลกเขาเป็นอยู่อย่างงี้ มันไม่สิ้นสุดเป็นดอก สังคมของมนุษย์เขาพูดเขาคุยอะไรไป เขาจะทำอันนั้นอันนี้ก็ว่าไป ว่าไปตามเขา

แต่มันมาล็อคตัวอุเบกขาไม่ยินดีไม่ยินร้าย อัศจรรย์ เราก็อยู่ในความว่าง อยู่ในสุญญตาตลอดวัน จิตของเราไม่ได้ทำงาน ไม่ได้ปรุงแต่งไปอันนั้นอันนี้ จิตจึงว่าง

อยู่ในสุญญตาตลอด อุเบกขาตลอด จิตจึงสบาย สุข นั่นล่ะ สุขกับสบายก็อันเดียวกัน ไม่ทำงาน รับงานมาแล้วก็วาง จับแล้วก็วาง รู้แล้วก็วาง

พระพุทธเจ้าคือผู้รู้ รู้แล้วก็วาง หูได้ยินเสียงรู้แล้วก็ดับ จมูกได้กลิ่นรู้แล้วก็ดับ ลิ้นได้รส รู้แล้วก็ดับ จะเรียกว่าเกิดดับ หรือจะบอกอุเบกขา เกิดแล้วก็ดับ มันมีอยู่ 2 อย่าง อันหนึ่งเกิด อันหนึ่งดับ อันหนึ่งไม่เกิดไม่ดับ รู้เฉยอยู่

หนิแหละถ้าเรามาถึงจุดนี้ จิตใจ เราก็สบาย รู้เท่าเอาทันอารมณ์ รู้เท่าเอาทันโลก รู้เท่าเอาทันอารมณ์ รู้เท่าเอาทันขันธ์ 5 ปัญญามันจะสร้าง สติปัญญา เหมือนกับโป๊ะตะเกียง อารมณ์ไหนไหลมาทางไหน พัดมาทางไหน

สติปัญญาก็จะครอบเอาจิตไว้ ไฟจึงไม่ดับ ไม่กระเพื่อม ไม่กระพริบ จิตของเราจึงว่าง สว่างไสว ผ่องใสอยู่ตลอดวัน แต่ก่อนก็ไม่เคยคิดว่ามันจะเป็นมันจะมีอย่างงี้ มาทำไปทำมาเกิดขึ้นเอง

ด้วยการฝึกสติตัวเดียว สติปัญญารู้เท่าเอาทันขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มันจะเกิดจะดับ ปัญญาสุดท้ายก็รู้ความเกิดความดับ ตัวหนึ่งไม่เกิดไม่ดับ ตัวหนึ่งมันจะเกิดจะดับ เราอย่าเอาจิตเราไปอยู่กับผู้เกิดผู้ดับ เราก็เอาจิตนั้นมาอยู่กับผู้ไม่เกิดไม่ดับ

ตลอดวัน มันจะว่าง เป็นสมาธิอยู่ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญ การปฏิบัตินะ การฝึก มันก็เริ่มต้นมาจาก ละสักกายทิฏฐิได้ ถ้าละสักกายทิฏฐิได้ ถ้าเราละสักกายทิฏฐิยังไม่ได้ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส ก็ยังสำคัญตนอยู่ สำคัญตน หลงว่าเราเห็น เราได้ยินอยู่ เราได้กลิ่นเราได้รสอยู่

ถ้าเราเข้าใจละสักกายทิฏฐิได้ กายกับใจมันทำงาน เรียกว่าอัญญมัญญปัจจัย  ปัจจัยอิงอาศัยกันเกิด เกิดแล้วก็ดับ ขันธ์ 5 เกิดแล้วก็ดับ รูปกับนามเกิดกับดับพร้อมกัน ไม่มีตัวตนสัตว์บุคคลอยู่ในนั่น จิตมีหน้าที่รู้ ก็รู้เฉย รู้แล้วเฉย ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ขันธ์ 5 มันก็เกิดดับอยู่ใน

ที่ว่าเกิดดับ ตัวเกิดตัวดับเมื่อกี๊นี่ล่ะ พูดลัดตอนปลายมันเฉยๆ เราอย่าไปอยู่กับผู้เกิดผู้ดับ เรามาอยู่กับผู้ไม่เกิดไม่ดับ เราก็สรุปตอนปลาย  อะไรเกิดอะไรดับ

จิตเกิดจิตดับ ขันธ์ 5 เกิดดับ รูปกับนาม อิงอาศัยกันเกิด เกิดแล้วก็ดับ มันไปรวมอยู่ที่จิตตัวเดียว

ทวารทั้ง 6 มีหน้าที่ส่ง เข้าไปบอกจิต จิตกระเพื่อมออกรับอารมณ์ ถ้าจิตที่ขาดสติปัญญา ก็เลยไปรับเอาอารมณ์ ถ้าจิตที่มีสติปัญญาที่ว่าเหมือนโป๊ะตะเกียง ไฟไม่กระเพื่อม กระพริบเลย

เขาจะทำงานของเขาเอง เขาเรียกว่าขันธ์ 5 สภาวะธรรม กายกับใจ อิงอาศัยกันเกิด เกิดแล้วก็ดับอยู่เท่านี้ นักปฏิบัติภาวนาต้องหาเข้ามาเห็นจุดนี้

ถ้าจิตสงบแล้วจึงจะเห็น เห็นชัด ถ้าจิตไม่เคยสงบ ก็เห็นยากเหมือนกัน ฉะนั้นท่านจึงให้เอาสมาธิก่อน  เมื่อได้สมาธิแล้ว จะไปเห็นอารมณ์นี่ อารมณ์รู้ๆ แล้วก็ว่าง ผ่องใสเป็นธรรมชาติอยู่ เห็นจิตเดิมแท้ของเรา เป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็คนเดียวกันนี่ล่ะ ไม่ใช่คนอื่นดอก

เราจะเห็นตัวรู้กับตัวว่างสว่างไสว ที่ท่านมาพูดว่าสุญญตา ก็ตัวนี้ เรียกไปหลายแง่หลายมุมเฉยๆ ตัวผู้รู้ ผู้รู้ก็อยู่กับในความว่าง เป็นธรรมชาติ ท่านเรียกว่าสุญญตาหรือเรียกว่าธรรมกาย กายของเราตัวของเราเป็นธรรมชาติ..

บางส่วนจากพระธรรมเทศนา หลวงตาศิริ อินฺทสิริ - ๖.สุญญตามหาปุริสา (2:45 - 12:33)
https://drive.google.com/drive/u/0/folders/0B6OG_Su4MwGZZzJQZkFDckxyTG8

0 comments:

Post a Comment