..ปกติคนไม่เห็นจิตเจ้าของง่ายๆดอก เห็นแต่ความคิด จิตไม่เคยเห็นซักที..
..ถ้ามันไม่ได้ก็ทำใหม่อยู่งั้นแหละ ลมหายใจเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เอาสติระลึกอยู่ พุทเข้า โธออก เข้าก็ว่าพุท ออกก็ว่าโท เข้าก็ว่าเข้า ลมเข้าก็ว่าเข้าในใจ ออกก็ว่าออกอยู่นั่นแหละ อย่าส่งจิต อย่าให้จิตส่งหนีไปไหน
คุมจิตมาให้รู้อยู่ที่ลมหายใจหนิ ได้สำเร็จเท่านั้นการภาวนา เอาลมหายใจเป็น จิตของเรามันไม่มีตัวไม่มีตน อสรีระ ไม่มีร่างกายตัวตน จับไม่ได้ แตะต้องสัมผัสไม่ได้ ต้องให้มันอยู่ที่ลมหายใจนี่แหละ
เราก็เอาสติ จับเอาลมหายใจซะก่อน เพราะว่าจิตคือผู้รู้ อาศัยอยู่ในลมหายใจ ลมหายใจนี่ก็ ถ้าเปรียบเทียบให้ฟังก็ เปลี่ยนเสมือนเหยื่อ เหยื่อเบ็ด จิตของเรานี่ก็เปรียบเสมือนปลา
ถ้าเราคุมปลา สติหนิ คุมปลามาให้กินเบ็ดได้ สติก็คุมปลามากินเหยื่อ เหยื่อในที่นี้ก็ หมายถึงลมหายใจนะ เราก็คุมมารู้อยู่ทุกลมหายใจ มาเสพอยู่กับลมหายใจ คำว่าเสพนี่ล่ะ เราเปลี่ยนเทียบเหมือนปลามากินเบ็ด ปลามากินเหยื่อละทีนี้ ถ้ามาเสพได้ เสพกับลมหายใจได้
อย่าไปร้อนนะ ใจร้อนนะ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ใหม่ๆมันก็ต้องจับจิตใหม่ๆ คุมจิตใหม่ สติใหม่ๆมันก็ไม่แก่กล้า ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ไม่มีพลังแก่กล้า เมื่อความคิดเกิดขึ้นก็ทิ้ง อย่าไปเสียดายความคิด ตั้งใหม่
เหมือนกับเรา ฝึกขับขี่รถ ขี่จักรยานยังงี้ล่ะ ขี่ใหม่ๆหนิ มันไม่เป็น มันต้องล้ม ล้มแล้วก็จับขึ้นมาขี่ใหม่ ตั้งขึ้นมาขี่ใหม่ ใหม่ๆจิตของเราจะวิ่งหนีนั่นล่ะ เหมือนกับจักรยานมันล้มนั่นล่ะ ล้ม สติมันก็ลงไป ตั้งสติใหม่ อยู่นั่นแหละ บ่อยๆครั้งมันก็ชำนาญขึ้นมาเอง เอาไปเอามาก็ขี่เป็น..
..หรือเหมือนกับเราฝึกอ่านหนังสือนี่แหละ อ่านใหม่ๆหนิ ต้องสะกดการันต์ต้องใส่อะไร ใส่อักขระ อักษรแล้วก็ใส่สระ ค่อยว่าไปค่อยใส่ตัวสะกดตัวการันต์ ไปเรื่อยๆ เอาไปเอาชำนาญ ก็อ่านเป็น อ่านได้ อ่านคล่อง อ่านได้คล่อง ว่องไวล่ะทีนี้
สมาธิก็เหมือนกัน ฝึกใหม่ๆก็เหมือนกันนี่ล่ะ ค่อยฝึกไปทำไป ฝืนทำอยู่งั้นแหละ จิตมันส่งนอก วิ่งหนีออกนอกก็ ตั้งสติใหม่ มารู้ลมหายใจใหม่อยู่นั่นล่ะ นี่ล่ะ เพียรนี่ล่ะ ความเพียร เพียรฝึกสติ เพียรฝึกปัญญานี่แหละ
สติปัญญา นี่แหละคือความเพียร ต้องเอาปัญญามาคุมจิต หาวิธีคุมจิต มาให้เสพอยู่กับลมหายใจ เอาสติ ฝึกสติฝึกปัญญาหนิ คุมจิตมาให้เสพอยู่กับลมหายใจ เอาไปเอามาได้ชั่ว 2 3 ขณะจิต ขณะลมหายใจ 3 4 ขณะ เข้า ลมเข้าลมออก 3 4 เที่ยวก็ได้ จิตสงบเรียกว่าขณิกสมาธิ หนิ ก็ได้แค่นี้ขึ้นมา
เอาไปเอามา ได้หลายๆเที่ยวเข้าไปก็เป็นอุปจารสมาธิ เอาไปเอามาก็สงบหลายครั้งหลายคราว ก็รวมกันเข้าเป็น สมาธิใหญ่ เรียกว่าอัปปนาสมาธิ ลมก็จะรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ชัด เอาไปเอามาลมก็จะเบา เบาลง เบาลง เบาลง ลมหายใจนั่นน่ะ พุทโธก็จะหายไป หรือคำว่าเข้าว่าออก ก็ว่าไม่ได้ บริกรรมไม่ได้
คงเหลือแต่ลมละเอียดลง ละเอียดลง จนลมหาย กายก็ไม่มี คงเหลือแต่ผู้รู้ๆๆๆ เด่นขึ้นเด่นขึ้น เราก็ไม่เอาสติไปจับเอาลมอีกละทีนี้ เอาสติไปจับเอาจิตนั่นล่ะ จิตคือผู้รู้นั่นล่ะ
ตกเบ็ดเอาปลา ภาวนาเอาจิต ทีนี้ก็ เมื่อได้จิตแล้ว ได้ปลาแล้ว เราก็วางเหยื่อทิ้ง วางลมหายใจทิ้ง เอาจิตไปจับเอาผู้รู้ เอาสติไปจับเอาผู้รู้ รู้ รู้ เฉย อยู่อย่างงั้น นี่แสดงว่าเราได้ปลา เราได้จิตแล้ว ภาวนาเอาจิต
ปกติคนไม่เห็นจิตเจ้าของง่ายๆดอก เห็นแต่ความคิด จิตไม่เคยเห็นซักที นี่แหละตกเบ็ดเอาปลาภาวนาเอาจิต ก็ได้จิตเจ้าของ จิตก็คือผู้รู้นั่นล่ะ..
บางส่วนจาก ตกเบ็ดเอาปลา ภาวนาเอาจิต (11:40 - 14:16, 15:16 - 18:14)
พระธรรมเทศนา หลวงตาศิริ อินฺทสิริ วัดถ้ำผาแดงผานิมิต
https://www.youtube.com/watch?v=bH1-0u5Orfw
29.6.16
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment